Print
Uncategorised
Hits: 16956

ในสมัยพระพุทธกาล  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรูสำเร็จเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์ประดิษฐานพระศาสนาของพระองค์ ณ กรุงราชคฤห์  เมืองหลวงของแคว้นมคธ  นครที่ศูนย์กลางอำนาจทั้งการเมือง  ศาสนา  เศรษฐกิจ  เป็นที่ชุมนุมของพ่อค้า  เจ้าลัทธิในสมัยนั้น  ซึ่งปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสาร  สมัยพระเจ้าอชาติศัตรูได้ทรงทำนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์และพระพุทธศาสนา  ด้วยพระราชศรัทธาอย่างยิ่ง  พุทธศาสนาเจริญสูงสุดในชมพูทวีป  เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน  เริ่มพุทธศักราชที่ ๑  ได้  ๙๐ วัน  ได้ทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ณ กรุงราชคฤห์  โดยพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน

ในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรูเกิดพระอรหันต์และสาวกมากมายพร้อมกัน  ความเจริญของพระนครทำให้กรุงราชคฤห์ที่รายรอบด้วยเบญจคีรีไม่สามารถขยายได้อีกต่อไป  ทั้งมีพระราชประสงค์ที่จะขยายอำนาจสู่นครเวสาลี  เมืองหลวงของแคว้นวัชชีซึ่งอยู่ตะวันตกของแม่น้ำคงคา    ทั้งยังเป็นการขายเศรษฐกิจโดยใขการเดินเรือขนส่งผ่านแม่น้ำคงคา  จึงย้ายเมืองหลวงมาที่เมืองปาตาลีบุตรฝั่งตะวันออกของแม่น้ำคงคาตรงข้ามกรุงราชคฤห์คือเมืองปัตนะ  ในรัฐวิหารในปัจจุบัน

หลังพุทธกาล ๒๐๐  กว่าปี  ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ขยายพระราชอาณาจักไปทั่วชมพูทวีป  ในขณะนั้นเกิดมีพระเถระสำคัญองค์หนึ่งคือ พระอุปคุต  ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยชอบสงบ  สันโดด  บำเพ็ญเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์เป็นพระขีณาสพ  มีฤทธานุภาพมาก  ท่านก็อธิษฐานลงไปอยู่ใต้สะดือทะเล  โดยเนรมิตเรือนแก้วขึ้นจำพรรษา  หลังสงครามแผ่อำนาจของพระเจ้าอโศกมหาราช  ที่เมืองกลิงคะ  พระองค์ทรงโทมนัสหดหู่พระทัยมาก  เนื่องจากมีผู้คนล้มตายจากการรบครั้งนี้ถึงสามแสนคน  จึงหันมาศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า  เกิดพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้า  ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก  ทรงสร้างวัดวาอารามมากมายทั่วราชอาณาจักรของพระองค์  ทั้งยังได้เผยแผ่พรพะพุทธศาสนาไปทุกทิศทางนองพระราชอาณาจักรของพระผงค์  ได้รวบรวมเอาพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจากนคร ๘ นคร  ที่ได้รับแบ่งครั้งถวายพระเพลิงพระบรมศพจากโทณพราหมณ์  แล้วทรงแบ่งออกได้ถึง ๘๔,๐๐๐  ส่วน  เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์  ๘๔,๐๐๐  แห่งในพระราชอาณาจักร  หลังจากสร้างสถูปเจดีย์เสร็จในพุทธศักราช ๒๑๘  ได้จัดให้มีพิธีฉลองสมโภชเจดีย์เหล่านั้นเป็นการมโหฬารยิ่งถึง  ๗ ปี  พญามารวัสสะวดีเทพบุตร  เห็นเป็นการสมโภชมหาเจดีย์บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า  จึงเข้าขัดขวางเพื่อทำลายการสมโภช  โดยบันดาลให้เกิดความแห้งแล้งไปทั่ว  เกิดความอดอยาก  คณะสงฆ์นครปาตาลีบุตรเห็นชอบให้อาราธนาพระอุปคุตมาปราบพญามาร  ทำหน้าที่ควบคุมคุ้มครองรักษางานให้เป็นไปด้วยความปลอดภัยจากเหตุร้ายต่างๆจากพญามาร

ท่านก็ยินดีรับสามารถจับพญามาร  โดยอธิษฐานร่างหมาเน่าเข้าคล้องคอพญามาร  พญามารยอมแพ้แต่ท่านทราบด้วยญาณว่า  พญามารไม่ได้ยอมแพ้ด้วยความจริงใจ  จึงจับไปกักขังไว้ที่ถ้ำในเขาลูกหนึ่งนอกเมืองปาตาลีบุตร  พญามารสำนึกได้ว่า  ครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตนเคยเข้าขัดขวาง  แต่พระองค์ไม่ถือโกรธหรือลงโทษ  ทั้งที่พระองค์ทรงกระทำได้ หรือแม้แต่พระสงฆ์สาวกของพระองค์จะทำโทษตนเองอย่างไรก็ได้  ตนไม่สามารถต่อกรได้เลย  แต่ท่านก็ไม่ทำ  จึงเกิดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า  ปรารถนาจะบวชเพื่อบำเพ็ญเพียรให้ถึงพระนิพพานบ้าง  พระอุปคุตทราบด้วยญาณจึงปล่อยพญามารเป็นอิสระ

ตั้งแต่นั้นมา  คราวใดมีพิธีกรรมทางพุทธศาสนา  เมื่อได้รับอาราธนาท่านก็จะเดินทางมาช่วยเสมอ  เช่นการสังคายนาครั้งที่ ๓  พุทธศักราช ๒๕๕  ณ วัดอโศการาม  เมืองปาตาลีบุตร  โดยพระโมคคัลลีบึตรเถระในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  ก็อาราธนาท่านมาอำนวยความปลอดภัย  จึงถือเป็นประเพณีตั้งแต่นั้นมา  ด้วความเชื่อดังกล่าว  ด้วยตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ  ทั้งยังถือเป็นสิริมงคลงาน  เมื่อมีงานใหญ่มีผู้คนจำนวนมาก  ชาวอีสานจึงมีพิธีแห่พระอุปคุตจนกลายเป็นประเพณีสืบมา

พระอุปคุตแบบต่างๆ

งานแห่พระอุปคุตของชาวอำเภอธาตุพนม  มีขึ้นเป็นประจำตั้งแต่ครั้งอดีตที่เริ่มมีงานนมัสการพระธาตุพนมหรืองานบุญเดือนสาม  ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๔๔ เป็นต้นมา  กำหนดการจะมีขึ้นในวันขึ้น ๘  ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี  เพราะวันนี้ข้าโอกาสพระธุพนมจะหลั่งไหลมาจากทุกทิศทาง  เพื่อนำข้าวสาร  อาหารแห้ง  พืชผักทุกชนิดมาถวาย  เรียกว่า  ข้าวพีชภาคถวายบูชาแด่พระธาตุพนม  ทางวัดพระธาตุพนมจะได้นำไปมอบให้โรงทานทำภัตตาหารถวายพระ  และอุปถัมภ์ญาติโยมที่มานมัสการพระธาตุพนมในงาน

พิธีเริ่มตั้งแต่เช้ามือริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อเตรียมเครื่องสักการะ  พิธีและขบวนแห่  โดยมีพระเถระและภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนม  ข้าราชการทุกหมู่เหล่า  พ่อค้า  ประชาชน  รวมทั้งผู้ที่มานมัสการพระธาตุพนม  เวลาประมาณ  ๐๗.๓๐ น. พิธีกรจำนำสวดมนต์ไหว้พระรับศีล  แล้วอาราธนาพระอุปคุต

อุปคุตโต  จะ  มหาเถโร

ลิชชะวุตโต สมุททะโย

ปาโตตะลา  อายะตุ  เอกมาโย

เตกะมาโร  โย  โย  อุปคุตโต

เมื่อเสร็จอาราธนาแล้ว  ตัวแทนซึ่งจะกำหนดเป็นนายอำเภอธาตุพนมสมมติแทนเจ้าเมือง  จะดำน้ำเพื่ออาราธนาพระอุปคุต  เมื่อขึ้นจากแม่น้ำแล้วก็จะถวายอัฎฐบริขาร  หมากพลู  แล้วอาราธนาขึ้นเสลี่ยงหรือรถเปิดประทุน  เพื่อให้ประชาชนรายทางสักการะ  เวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น.  ขบวนแห่จะเริ่มเคลื่อนตามถนนกุศลรัชฎากรตรงเข้าสูวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร นำขบวนโดยคณะสงฆ์  ซึ่งมีพระเถระนำหน้าสมมติเป็นพระสงฆ์เมืองปาตะลีบุตร โดยมีแตรวง  กลองยาว  พิณ แคนบรรเลง  ช่างฟ้อน  ช่างรำรำตามขบวน  สองข้างทางจะมีผู้มีจิตศรัทธาถวายดอกไม้ ธูปเทียน  เครื่องสักการะ  เงิน ทองมิได้ขาด  โดยเฉพาะร้านค้าซึ่งเรียงรายอยู่ก่อนแล้ว  เชื่อว่าใครได้บูชาพระอุปคุุต  จะมีโชค  ค้าขายร่ำรวย

เมื่อเข้าสู่วัดพระธาตุพนมแล้วจะประทักษิณ ๓ รอบ  แล้วนำพระอุปคุตประดิษฐานไว้บนหอพระแก้ว  แล้วประธานจะกล่าวนำบูชาพระธาตุพนม เป็นเสร็จพิธี  เมื่อเสร็จสิ้นงานนมัสการพระธาตุพนมแล้ว  ๓-๘ วัน  จะอาราธนาพระอุปคุตไปสู่แม่น้ำโขงซึ่งสมมมติว่าเป็นสะดือทะเลอีกครั้ง  งานนมัสการพระธาตุพนมถือเป็นมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ผู้คนมาชุมนุมกันเป็นเรือนแสนเรือนล้าน ๙ วัน ๙ คืน  โดยไม่มีเหตุร้ายใดๆลุล่วงมาทุกปี  ด้วยฤทธาของพระอุปคุตมหาเถระ  ด้วยเดชบารมีขององค์พระธาตุพนม

ในปี พ.ศ.2554 ธนาคารกรุงเทพได้นำกฐินพระราชทานมาทอดถวายที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร   ได้จัดสร้างวัตถุมงคล พระผงและเหรียญพระอุปคุตพระธาตุพนม รุ่นเจริญทรีพย์ เจริญยศ เจริญสุข เพื่อมอบให้พุทธศาสนิกชนผู้ร่วมทำบุญสมทบพระกฐินพระราชทาน  ซึ่งวัตถุมงคลนี้บรรจุในองค์พระธาตุพนมตลอดระยะเวลา 3 เดือนในช่วงพรรษา ตั้งแวันที่ 11  กรกฎาคม 2554  และทำพิธีพุทธภิเษกในวันที่ 29 ตุลาคม 2554

พระอุปคุตปางล้วงบาตร  ปิดทอง 5 นิ้ว
เจริญทรัพย์  เจริญยศ  เจริญสุข
พระผงและเหรียญพระอุปคุต  พระธาตุพนม
เจริญทรัพย์  เจริญยศ  เจริญสุข

 

ภาพขบวนแห่อัญเชิญพระอุปคุตในงานนมัสการพระธาตุพนม


{morfeo 2}