Print
ประเพณีและวัฒนธรรม
Hits: 7795

 

รำผู้ไทย

ชาวผู้ไทย  เป็นชาวไทยอีกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง  มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย  ได้แก่มุกดาหาร  กาฬสินธุ์  สกลนครและ  นครพนมใขเขตอำเภอนาแก  เรณูนคร  ชาวผู้ไทยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวในการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันได้แก่  ภาษา  การแต่งกาย  ศิลปหัตถกรรม  และภูมิปัญญาชาวบ้าน

รำผู้ไทยได้พัฒนาและดัดแปลงมาจากศิลปะการรำซึ่งแสดงในเทศกาลที่สำคัญต่างๆ  คือ  การรำขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลจากพญาแถนในประเพณีการจัดงานบุญบั้งไฟ  และการรำสมโภชน์งานทำบุญมหาชาติ  เป็นต้น  ซึ่งแสดงถึงศิลปการรำ  การแต่งกายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  และความสนุกสนานร่าเริงหยอกล้อของหนุ่มสาว  หลังจากที่พิธีการที่สำคัญผ่านไป

Phu  Tai  Dance

"The  Phu tai"  people  Nakhonphanom  gradually  migrated  from  Laos  to  various  sites  in  Thailand  along  the  Maekhong  river  in  Mukdaharn,Kalasin,Sakolnakhon  and  Nakhonphanom  provinces.  There  are  mostly  found  in  Nakae  and  Renunakhon  districts  of  Nakhonphanom  and  their  folkways  remain  in  the  original  customs

Phu Tai  Dance  was  performed  on  the  TWo  Occasions.  Firstly  to  beg  for  the  rain  from  the  God  of  the  Rain  called  "Pa Ya Taen"  during  the  "Bang  Fai"  celebration  which  always  takes  place  in  May.  Secondly  ,  as  a  form  of  woship  during  other  important  celebrations.